กลยุทธ์การเทรด Forex พื้นฐานสำหรับมือใหม่ ตอนที่ 2

การกำหนด Stop Loss โดยอ้างอิง Fractal
ผู้เทรด Forex ต้องกำหนดให้ถูกต้องหากอ้างอิงข้อมูลทิศทางแนวโน้มของตลาดจาก Fractal คือการกำหนด Stop Loss ต้องกำหนดที่ยอดของสัญลักษณ์ Up fractal และกำหนดที่ยอดของสัญลักษณ์ Low fractal ห้ามเข้าใจผิดและจำผิด ไปกำหนดที่ไส้แท่งเทียนทั้งราคา High และ Low เด็ดขาด ต้องกำหนดที่ปลายของสัญลักษณ์ Fractal เท่านั้น

เพราะอย่าลืมว่า Indicator ตัวนี้เป็นตัวส่งสัญญาณเตือนว่าราคาอาจจะไปต่อไม่ได้และมีการกลับตัวในช่วงนั้นๆ ถ้าราคากลับตัวจริงไม่มีปัญหาเพราะเราจะได้กำไร แต่ถ้าราคาไม่กลับตัว ผลคือขาดทุน แล้วถ้าผู้เทรดกำหนด Stop Loss ผิดตำแหน่งตามที่กล่าวไปแล้วจะทำให้ผู้เทรดขาดทุนและปิด Order เร็ว แต่โดยปกติแล้วถ้าไม่ใช่เทรนด์ยาวๆ จะไม่ค่อยเกิดการ Break Fractal อย่างมากราคาก็ไปจนถึงเกือบเท่า Fractal แล้วกลับตัว ผลก็คือ เรากำหนดผิดตำแหน่ง ทำให้ขาดทุนและปิด order ไปแล้ว แทนที่จะได้กำไรหากกำหนดได้ถูกตำแหน่งคือ ยอดของสัญลักษณ์ Fractal


กลยุทธ์การเทรด Forex พื้นฐานสำหรับมือใหม่ ตอนที่ 1

กลยุทธ์การเทรด Forex พื้นฐาน
ช่วยให้ผู้เทรดสามารถอ่านชาร์ตแล้วใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้มาตัดสินใจใยการเทรดแต่ละ Order ได้ถูกต้อง แม่นยำ ทำกำไร แต่สิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงสิ่งที่ควรจะทำเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้เทรกจะต้องทำตามทั้งหมด ทุกอย่างสามารถพลิกแพลงได้ตามสถานการณ์ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และความชำนาญของผู้เทรดแต่ละคน

1. Fractal  ส่งสัญญาณการกลับตัว
Fractal เป็นตัวชี้วัด (Indicator) ตัวหนึ่งที่ผู้เทรดจำนวนมากใช้เป็นตัวบอกสัญญาณว่าราคาอาจจะมีการกลับตัวของทิศทางราคาในตลาด Forex โดยส่วนใหญ่แล้วหากตลาดอยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีการผันผวนหรือการปรับตัวของราคาอย่างรุนแรง จะสามารถบอกสัญญาณได้ค่อนข้างแม่นยำและสามารถเชื่อถือได้พอสมควร ถ้าผู้เทรดสามารถใช้ร่วมกับการอ่านชาร์ตได้ก็จะช่วยยืนยันทิศทางตลาดได้

การยืนยันทิศทางตลาดด้วย Fractal
ผู้เทรดสามารถทำได้โดยการดูชาร์ตที่เกิดต่อจาก Fractal คือ ถ้าแท่งเทียน 2 แท่งที่เกิดต่อจาก Fractal นั้นมีการปิดราคาแล้วมีทิศทางเหมือนกัน จะเป็นการยืนยันว่าทิศทางตลาดจะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวค่อนข้างแน่นอนแม้จะเป็นช่วงสั้นๆแค่เพียง 1 - 3 แท่งเทียนก็ตาม

แต่พึงจำไว้เสมอว่า Fractal ไม่ใช่ตัวชี้ขาดทิศทางราคาของตลาด ยังมีตัวชี้วัดอื่นๆอีกที่ผู้เทรดควรดูประกอบด้วยเพื่อความถูกต้องและความปลอดภัยของตัวผู้เทรดเอง

การจัดการ Stop loss ระหว่างการเทรดโดย Pending Order

บทความที่แล้วผู้เทรด Forex ( Forex Trader) ได้ทำการใช้คำสั่ง Pending Order แบบต่างๆกันไปแล้วและรู้วิธีการกำหนดตำแหน่ง Stop loss, Take Profit อีกด้วย บทความนี้จะแนะนำผู้เทรดเกี่ยวกับวิธีจัดการกับ Stop loss ในขณะที่ราคาตลาดของ Order นั้นยังไปไม่ถึงจุดที่กำหนด Take Profit เอาไว้

การ Buy

จากบทความที่แล้วหากผู้เทรดคาดการณ์ถูก ทิศทางราคาตลาด Forex จะไต่ระดับไปในแดนบวก มีข้อสังเกตง่ายๆ ว่าทิศทางถูกหรือไม่คือ ให้ยึดแท่งเทียนที่เกิด Down Fractal เป็นหลัก แล้วรอให้แท่งเทียนที่จะเกิดต่อจากแท่งเทียนนี้อีก 2 แท่งเทียน มีราคาปิดเป็นทิศทางเดียวกันคือเป็นบวก ก็จะช่วยยืนยันทิศทางได้ในระดับหนึ่ง
ในกรณีที่ทิศทางถูกต้อง เมื่อราคาไต่ขึ้นไประดับราคาหนึ่ง อาจจะมีการกลับตัวของราคาเป๋นลบเล็กน้อยแล้วเกิด Down fractal ใหม่ เช่นนี้ ให้ผู้เทรดทำการขยับ Stop loss ไปที่ Down fractal ที่เกิดขึ้นใหม่นี้
จุดดังกล่าวนี้หากราคาไม่สามารถไต่ระดับไปถึง  Pivot point ได้และมีการกลับตัวไปแดนลบ จุด Stop Loss ที่กำหนดใหม่นี้จะเป็นจุดที่ทำให้ผู้เทรดได้กำไร ซึ่งแน่นอนว่ามากกว่าหากปิดออร์เดอร์ไม่ทันแล้วราคาลงไปต่ำกว่าจุดนี้ ถ้าแย่ไปกว่านั้นคือ เท่าทุนถ้าปิดออร์เดอร์ทัน แต่ถ้าไม่ทันก็ติดลบและอาจเลยไปถึงขาดทุนที่จุด Stop loss ที่กำหนดไว้คราวแรก

การ Sell

หลักการเหมือนกับการ Buy เพียงแต่ให้ไป Stop loss ที่ Up fractal ที่เกิดขึ้นใหม่ และการดูทิศทางก็ให้กลับทิศทางการสังเกตในทิศทางตรงข้ามจากการ Buy

การจัดการ Pending Orders - Sell Stop

บทความที่แล้วเราได้ทราบวิธีการจัดการและวิธีการตัดสินใจใช้คำสั่ง Pending Order - Buy Stop ในการเทรด Forex ไปแล้ว ซึ่งในบทความนี้ จะกล่าวต่อจากบทความที่แล้วโดยจะกล่าวถึง Pending Order - Sell Stop ที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการจัดการ Buy Stopในหลายจุดแต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันด้วยจึงขออนุญาต Trader ทั้งหลายอธิบายในรูปแบบที่เหมือนกัน แต่ได้โปรดสังเกตให้ดี เรื่องการกำหนด Stop loss และ Take Profit เพราะหลักการจัดการแตกต่างจาก Buy Stop ดังนี้

1. ทิศทางของตลาด Forex

ถ้าทิศทางของตลาดมีการกลับตัวไปในทิศทางตรงกันข้ามคือทิศทางตลาดขาขึ้นหรือ Upward Trend หลังจากที่เราได้ทำการกำหนดคำสั่ง Pending Orders - Sell Stopไปแล้ว ให้ผู้ลงทุนหรือ Trader ทำการยกเลิกคำสั่ง Pending Order - Sell Stop โดยให้ Trader ตรวจสอบ trend จากกราฟ M30 (Timeframe 30 minutes) เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ Up factal และ Down fractal รวมถึงจุดเข้าเทรดหรือ Entry point ด้วย

2. เมื่อเกิด Up fractal ใหม่ ให้เปลี่ยนตำแหน่ง Stop loss

ถ้ามี Up fractal ใหม่เกิดขึ้น Trader ควรจะเปลี่ยนตำแหน่ง Stop loss เสียใหม่ให้มาอยู่ที่แท่งเทียนที่เกิด Up fractal ล่าสุดเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Up fractal ที่เกิดสูงกว่าหรือต่ำกว่า Up fractal ก่อนหน้านี้

3. เมื่อเกิด Down fractal ให้เปลี่ยนจุดเข้าเทรด (Entry point - Sell Stop)

ถ้าหากว่ามี Down Fractal เกิดขึ้นใหม่ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำกว่า Down fractal ก่อนหน้านี้ ให้ใช้แท่งเทียนล่าสุดที่้กิด Down Fractal เป็นจุด Sell Stop

4. Pivot point

Pivot point เป็น Indicator ตัวหนึ่งที่จะบอกแนวรับ แนวต้าน ท้องตลาด Forex ในแต่ละวัน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งทุกวันในเวลาเที่ยงคืนของแต่ละโบรกเกอร์ Trader ทุกท่านควรเปลี่ยนจุดกำไร หรือ Take Profit ด้วยตามตำแหน่งของ Pivot point ที่เปลี่ยนไป

การจัดการ Pending Orders - Buy Stop

หลังจากที่เราได้ทราบชนิด รูปแบบ วิธีการทำงาน และวิธีการตัดสินใจใช้คำสั่ง Pending Order ไปแล้ว ทีนี้จะมีปัญหาให้ต้องเผชิญแน่ๆกับผู้ลงทุน (Trader) Forex ทุกคน ซึ่งในบทความนี้ จะรวบรวมปัญหาที่มีการไถ่ถามมากเป็นอันดับต้นๆ วิธีการจัดการ การรับมือ การแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานให้ Trader ทุกท่านได้นำไปใช้หรือพลิกแพลงใช้งานตามความสามารถของแต่ละคน

1. ทิศทางของตลาด Forex
ถ้าทิศทางของตลาดมีการกลับตัวไปในทิศทางตรงกันข้ามคือทิศทางตลาดขาลง หรือ Downward trend หลังจากที่เราได้ทำการกำหนดคำสั่ง Pending Orders - Buy Stopไปแล้ว ให้ผู้ลงทุนหรือ Trader ทำการยกเลิกคำสั่ง Pending Order - Buy Stop โดยให้ Trader ตรวจสอบ trend จากกราฟ M30 (Timeframe 30 minutes) เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ Up factal และ Down fractal รวมถึงจุดเข้าเทรดหรือ Entry point ด้วย

2. เมื่อเกิด Down fractal ใหม่ ให้เปลี่ยนตำแหน่ง Stop loss
ถ้ามี Down fractal ใหม่เกิดขึ้น Trader ควรจะเปลี่ยนตำแหน่ง Stop loss เสียใหม่ให้มาอยู่ที่แท่งเทียนที่เกิด Down fractal ล่าสุดเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Down fractal ที่เกิดสูงกว่าหรือต่ำกว่า Down fractal ก่อนหน้านี้

3.  เมื่อเกิด Up fractal ให้เปลี่ยนจุดเข้าเทรด (Entry point - Buy Stop)
ถ้าหากว่ามี Up Fractal เกิดขึ้นใหม่ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำกว่า Up fractal ก่อนหน้านี้ ให้ใช้แท่งเทียนล่าสุดที่้กิด Up Fractal เป็นจุด Buy Stop

4. Pivot point
Pivot point เป็น Indicator ตัวหนึ่งที่จะบอกแนวรับ แนวต้าน ท้องตลาด Forex ในแต่ละวัน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งทุกวันในเวลาเที่ยงคืนของแต่ละโบรกเกอร์ Trader ทุกท่านควรเปลี่ยนจุดกำไร หรือ Take Profit ด้วยตามตำแหน่งของ Pivot point ที่เปลี่ยนไป

คำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Pending Order) ตอนที่ 2

Sell Limit และ Buy Limit


ในบทที่แล้วเราได้รู้จักกับ 2 คำสั่งแรกของ Pending Order ไปแล้วคือ Sell Stop และ Buy Stop ซึ่งคำสั่งทั้งสองนั้นเปรียบง่ายๆเหมือนกับป้ายรถประจำทาง (Bus Stop) นั่นเอง คือเราต้องการจะขึ้นรถที่จุดๆนั้นเพื่อไปต่อ แตกต่างกับอีกสองคำสั่งคือSell Limit และ Buy Limit ที่หลักการทำงานต่างกัน ไม่สามารถเปรียบได้กับสิ่งใดๆ แต่ก็เข้าใจได้ไม่ยากเพราะแตกต่างกับ 2 คำสั่งแรกแค่ไม่กี่อย่างเท่านั้น

Sell Limit และ Buy Limit เป็นคำสั่งที่ใชำกำหนดจุดที่จะซื้อหรือขาย (Trade) ไว้ล่วงหน้า โดยที่จุดที่จะกำหนดนั้นมีหลักคิดที่สำคัญคือการกลับตัวของทิศทางตลาด และการคาดการณ์ถึงราคาที่จุดต่ำสุดและสูงสุดที่น่าจะเป็น แล้วใช้ทั้งสองอย่างมาช่วยกำหนดจุดเทรดด้วย Sell Limit และ Buy Limit โดยจะขอแยกอธิบายดังนี้

1. Sell Limit คือ คำสั่งที่ใช้กับเทรนด์ขาลง โดยจุดที่ใช้คำสั่งคือจุดที่คาดว่า ราคาจะลดลงมาถึงจุดนั้น และจะไม่ลดลงไปต่ำกว่านั้น หรือถ้าลดต่อไปก็ไม่มากจนเกินไป และก็คาดว่าเมื่อราคามาถึงจุดนั้นแล้วจะมีการกลับตัวเป็นเทรนด์ขาขึ้น นั่นคือกำไรที่เราจะได้รับนั่นเอง


2. Buy Limit เป็นคำสั่งที่ใช้ในเทรนด์ขาขึ้น และกำลังจะถึงจุดสูงสุดของเทรนด์นั้นๆเมื่อคาดการณ์ว่า ณ จุดใดจุดหนึ่ง น่าจะเป็นจุดที่ราคาสูงที่สุดแล้ว เราก็กำหนดคำสั่ง Buy Limit ไว้เมื่อทิศทางตลาดพาราคาไปถึงแล้วหากมีการกลับตัวอย่างที่คาดการณ์ เราก็จะได้กำไรจากการกลับตัวนั้นเช่นเดียวกับ Sell Limit

ข้อดีของ Sell Limit และ Buy Limit
ข้อดีคือหากการคาดการณ์ของนักลงทุน (Trader) นั้นถูกต้องแม่นยำ กำไรที่ได้จะได้รับมากเพราะจุดที่ทำการเทรด จะเป็นจุดสุดท้ายของเทรนด์ (trend) หนึ่งและจะเป็นจุดเริ่มต้นอีกเทรนด์หนึ่ง ซึ่งนั่นจะทำให้ผู้ลงทุนได้กำไรในลักษณะ long trend คือกำไรระยะช่วงยาวๆ

ข้อเสียของSell Limit และ Buy Limit
ข้อเสียที่เด่นชัดคือ ความเสี่ยง ที่ราคาอาจจะไปต่อซึ่งผลก็คือการขาดทุน ยิ่งราคาไหลไปไกลมากเท่าไหร่ ผู้ลง.ุก็ขาดทุนมากตามไปด้วยเช่นกัน

ในตลาด Forex นั้น ยิ่งอยากได้ผลตอบแทนมาก นักลงทุนก็จำเป็นต้องยอมรับความเสี่ยงนั้นไว้ด้วยในการเทรดแต่ละครั้ง แต่หากผู้ลงทุนไม่ต้องการความเสี่ยงในระดับสูงก็สามารถทำกำไรได้เพียงแต่จะได้น้อยและนานกว่าความเสี่ยงในการลงทุนระดับสูงๆ

เริ่มต้นทำความรู้จักกับ การซื้อขาย (Trading) ว่าคืออะไร?

เริ่มต้นทำความรู้จักกับ การซื้อขาย (Trading) ว่าคืออะไร?

ทุกคนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า "การซื้อขาย" หรือ Trading มาบ้างโดยส่วนมากแล้วเรามีการซื้อขายในชีวิตประจำวันของเราอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าเราอาจไม่ได้รู้ว่าเรา กำลังทำอย่างนั้น ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วทุกสิ่งที่คุณซื้อในร้านค้าเป็น เงิน สกุลต่างๆในการซื้อขายสำหรับสินค้าที่คุณต้องการ

ที่ New High Forex Trader คุณจะได้เรียนรู้วิธีการซื้อขายค่าเงินสกุลต่างๆใน ตลาดการซื้อขายเงินออนไลน์ (Forex Trading) และ High Forex Trader นี้จะทำให้คุณเข้าใจถึงความหมาย, เทคนิคและวิธีการซื้อขาย Forex ผ่านโปรแกรมหรือแพลตฟอร์ม (Platform) การซื้อขายกับโบรกเกอร์ (Broker)ต่างๆทั่วโลก


หลักการของการซื้อขาย (Trading)

" การซื้อขาย " (Trading)หมายถึง " การแลกเปลี่ยนสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่นใด " ปกติแล้วเรามักจะเข้าใจในเรื่องนี้เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสิ่งของหรือสินค้าที่ผลิตเพื่อเงินหรือในความหมายอื่น ๆ แต่ถ้าจะให้พูดง่ายๆ การซื้อขายก็คือ การซื้อบางสิ่งบางอย่าง

เมื่อเรากล่าวถึงเกี่ยวกับการซื้อขาย ในตลาดการซื้อขายเงินก็เป็นหลักการเดียวกัน แนวคิดเกี่ยวกับคนที่ซื้อขายหุ้น (Shares) จริงๆแล้วก็คือการซื้อหุ้นของบริษัท ถ้ามูลค่าของหุ้นดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น พวกเขาก็จะทำเงินจากการขายหุ้นของพวกเขาอีกครั้งในราคาที่สูงกว่าเดิม นี่ก็คือตัวอย่างของการซื้อขาย คุณซื้อบางสิ่งบางอย่างในมูลค่าหนึ่งและขายมันในอีกมูลค่าหนึ่ง โดยหวังว่าจะมีราคาที่สูงขึ้นซึ่งจะทำให้ได้กำไร

แล้วมูลค่าหุ้นจะเพิ่มขึ้นได้อย่างไร ? คำตอบนั้นง่าย : การเปลี่ยนแปลงของมูลค่า จะแปรผันตาม อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) โดยเมื่อมีความต้องการบางสิ่งบางอย่างที่มากขึ้น (อุปสงค์) แต่มีสิ่งนั้น (อุปทาน)น้อยกว่าจำนวนคน ผู้คนจึงยินดีที่จะจ่ายเพิ่มเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น

การเพิ่มขึ้นของ ความต้องการ (Demand) ก็คือ การเพิ่มขึ้นของ ราคา (Price)

เราสามารถอธิบายเรื่องนี้ได้ง่ายๆจากตัวอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้ออาหาร สมมติว่า คุณอยู่ในตลาดและที่มีแอปเปิ้ลเหลืออยู่บนแผงเพียง 10 ลูก และร้านนี้เป็นเพียงร้านเดียวที่คุณสามารถจะซื้อแอปเปิ้ลได้ แต่ถ้าหากมีเพียงคุณคนเดียวที่ต้องการแอปเปิ้ล ส่วนมากแม่ค้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะขายให้ในราคาที่เหมาะสม

แต่ในกรณีที่มี 15 คน มาที่ตลาดแห่งนี้เพื่อซื้อแอปเปิ้ล ผู้คนเหล่านั้นจะทำบางอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะได้รับในสิ่งที่เขาต้องการก่อนที่คนอื่นจะได้ไป ซึ่งก็คือพวกเขายินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้นได้ ดังนั้นแม่ค้าสามารถขึ้นราคาได้ เพราะรู้ดีว่ามีความต้องการมากขึ้นสำหรับแอปเปิ้ล ซึ่งมีมากกว่าจำนวนแอปเปิ้ลที่มีอยู่

เมื่อราคาแอปเปิ้ลขึ้นถึงราคาที่ลูกค้าคิดว่าแพงเกินไปก็จะหยุดซื้อพวกเขา เมื่อเป็นเช่นนั้นแม่ค้าย่อมตระหนักว่าสินค้าอาจจะขายไม่ออกเนื่องจากราคาที่สูงเกินไป แม่ค้าก็จะหยุดขึ้นราคาและอาจจะรวมถึงลดราคาลงมาจรถึงระดับที่ลูกค้าพอใจที่จะซื้ออีกครั้ง

File:MercadodeSanJuandeDios.jpg
Trading image by Wikipedia.org

การเพิ่มขึ้นของ อุปทาน (Supply) หมายถึง การลดลงของ ราคา (Price)

สมมติว่า จู่ๆมีแม่ค้าแอปเปิ้ลอีกคนเข้ามาในตลาดซึ่งนั่นทำให้มีแอปเปิ้ลมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คืออุปทานเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งแม้ค้าที่เข้ามาใหม่ย่อมเสนอขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าแม่ค้าเจ้าเดิมเพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้าให้ซื้อสินค้าของตัวเอง ส่งผลให้ราคาของแอปเปิ้ลลดลงระดับหนึ่ง และเมื่อมีการแข่งขันกันในตลาดย่อมส่งผลให้ราคาลดลงอีกต่อหนึ่ง ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า กลไกการแข่งขันในตลาด

ราคาที่ตรงกันของ ความต้องการ (Demand) และ อุปทาน (Supply) เรียกว่า "ราคาตลาด" (Market Price) กล่าวคือ ระดับราคาที่แม่ค้าทั้งสองเจ้าและลูกค้ายอมรับ ทั้งราคาและจำนวนของแอปเปิ้ลที่ขาย

การประยุกต์ใช้ในตลาดการเงิน

ในตลาดการเงินแนวคิดของอุปสงค์และอุปทานจะเหมือนกับภายนอก ยกตัวอย่างเช่น หาก บริษัท ก. มีผลประกอบการและการจ่ายเงินปันผลที่ดีมาก ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากต้องการที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทนี้ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาของหุ้นดังกล่าว

การซื้อขายออนไลน์ คืออะไร?

เป็นเวลานานแล้วที่การซื้อขายทางการเงินได้ดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคารและสถาบันการเงินเท่านั้น นั่นหมายความว่า การซื้อขายในตลาดการเงินถูกจำกัดไม่ให้ผู้คนภายนอกมีส่วนร่วมกับสถาบันเหล่านี้ แต่เมื่อมีการพัฒนาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้ทุกคนที่อยากจะมีส่วนร่วมในการซื้อขายก็ได้ซื้อขายออนไลน์สมปรารถนา

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด มีมูลค่าเกือบ  4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าของสกุลเงินที่มีการซื้อขาย 24 ชั่วโมงของทุกวัน ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่กว่าตลาดหลักทรัพย์ใดๆ ในโลกนี้

คำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Pending Order)

บทที่แล้วเราได้รู้วิธีการหาจังหวะเข้าเทรด Forex ไปแล้วว่ามีวิธีการอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไรบ้าง ต่อไปในบทนี้เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้คำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Pending Orders) สิ่งที่ต้องพิจารณาในการใช้ Pending Orders การกำหนดจุดขายทำกำไร (Take Profit)  และจุดหยุดการขาดทุน (Stop loss)

คำสั่งของ Pending Orders มีอยู่ด้วยกัน 4 คำสั่ง คือ Buy Stop, Sell Stop, Buy limit, Sell Limit โดยตัวของ Pending Order เองนั้นมีความหมายว่า จุดๆหนึ่งหรือราคาที่จุดๆหนึ่ง ซึ่งผู้เทรด Forex คาดว่าแนวโน้มของตลาดและราคาจะไปในทิศทางนั้นและไปถึงยังจุดนั้นด้วยซึ่งการทำกำไรนั้นคือแผนที่เราวางไว้ให้เริ่มจากจุดนั้นนั่นเอง การใช้ Pending Orders นั้นเมื่อราคาไปถึงจุดที่เรากำหนดคำสั่งไว้ระบบจะทำการเทรดให้ตามที่เราตั้งคำสั่งไว้ก่อนหน้านี้โดยอัตโนมัติ


คำสั่ง Buy Stop และ Sell Stop

จะใช้ในทิศทางตลาดที่อยู่ในช่วงขาขึ้น เมื่อผู้ลงทุน (trader) คาดว่าทิศทางตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือกำลังจะเป็นขาขึ้น ปกติเราจะใช้คำสั่ง buy คือซื้อทันทีเพื่อเริ่มทำกำไรแบบยาวๆ ปัญหาที่ตามมาคือ ทิศทางตลาดเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ผลคือ ขาดทุนในทันที คำสั่ง buy stop จึงช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ได้ คือ เมื่อเราคาดว่าทิศทางตลาดจะเป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งและเราคิดว่าราคาที่จุดใดจุดหนึ่งสามารถช่วยยืนยันทิศทางตลาดได้เราก็กำหนดคำสั่ง buy stop ไว้เมื่อราคาไปถึงจุดที่เรากำหนด ระบบจะทำการเทรดให้เราโดยอัตโนมัติตามที่เรากำหนดไว้ 


ตัวอย่างการใช้คำสั่ง Pending Order - Sell Stop ที่ราคา 1.38655

ข้อดีของ Buy Stop และ Sell Stop


ข้อดีคือ การช่วยยืนยันทิศทางตลาดได้ว่าทิศทางน่าจะถูกต้องและลดการขาดทุนจากทิศทางตลาดที่ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์


ข้อเสียของ Buy Stop และ Sell Stop


ข้อเสียที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ กำไรที่จะได้รับน้อยลงกว่าการใช้คำสั่ง Buy และ Sell เนื่องจากเราต้องไปกำหนดการเทรดในจุดที่คิดว่าจะไปถึงและปลอดภัยนั่นเอง

Popular Posts

Like us on Facebook

Flickr Images